วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประวัติผู้จัดทำ


ประวัติผู้จัดทำ





นางสาวพุดกรอง  เพชรสองเมือง
ชื่อเล่น หมิว
เลขที่ 32 
ม.4/4
วันเกิด 7 พฤษภาคม 2541
หมู่เลือด กรุ๊ปโอ

ครอบครัว

ครอบครัว





                    ครอบครัว คือกลุ่มของบุคคลที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน มีความใกล้ชิดกัน และอาศัยในที่เดียวกัน ความหมายของครอบครัวในทางพันธุศาสตร์จะพิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางสายเลือดเป็นหลัก แต่ในสังคม คนทั่วไปมักจะเข้าใจความหมายของครอบครัวในทางภาพลักษณ์มากกว่าทางพันธุศาสตร์
ลำดับญาติที่ใช้ในครอบครัว ได้แก่


                  ลักษณะของครอบครัวในสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการใช้ชีวิตประจำวัน และสภาพของสังคม สังคมเมืองและสังคมชนบทก็จะมีลักษณะของครอบครัวที่แตกต่างกัน ลักษณะของครอบครัวนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ ครอบครัวเดี่ยว และครอบครัวขยาย
ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวประกอบไปด้วย พ่อ แม่ และ ลูก ซึ่งครอบครัวลักษณะนี้มักจะพบในสังคมเมือง
ครอบครัวขยาย คือ ครอบครัวที่สมาชิกครอบครัวมีมาแต่เดิม โดยอาจจะมีปู่ย่า หรือตายาย หรือญาติคนอื่นๆ อาศัยรวมกับพ่อแม่และลูกหลาน ซึ่งเป็นครอบครัวใหญ่มักจะพบในสังคมชนบทและชานเมือง
ลักษณะของครอบครัวที่ดี นั้นสมาชิกในครอบครัวควรมีชีวิตที่มีความสุข และมีสุขภาพดีทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยสามารถทำได้ดังนี้
1 มีความรักและความห่วงใยซึ่งกันและกัน
2 มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน สามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผย ไม่ปิดบัง และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
3 เห็นแก่ประโยชน์ของครอบครัวมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ต้องรู้จักเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว
4 มีความซื่อสัตย์และไว้วางใจกัน จะต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ทะเลาะกันต่อหน้าคนอื่น รู้จักยอมรับผิดและให้อภัยแก่ผู้ทำผิด
5 ทำกิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ จะทำให้เกิดความอบอุ่น และความสามัคคีภายในครอบครัว ทำให้สมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข






การจัดการวางแผนการทำงานภายในบ้าน

การจัดการวางแผนการทำงานภายในบ้าน



                   งานบ้าน  หมายถึง  กิจกรรมต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันในการสร้างความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้าน  ซึ่งต้องปฏิบัติเป็นประจำ  โดยอาศัยความร่วมมือ  ร่วมแรง  ร่วมใจของสมาชิก   ทุกคนในบ้าน

         หลักสำคัญในการสร้างบ้านหรือที่พักอาศัยให้ถูกสุขลักษณะ ควรคำนึงถึง
1. ความต้องการขั้นพื้นฐานทางสรีรวิทยา (Fundamental physiological needs) หมายถึงการจัด
สิ่งแวดล้อมของบ้านที่พักอาศัยให้มีความเหมาะสมกับความต้องการทางด้านสรีรวิทยา เช่น
  • การระบายอากาศที่เหมาะสม
  • แสงสว่าง
  • บริเวณบ้าน หมายถึงพื้นที่นอกเหนือจากการใช้ปลูกสร้างบ้าน
  • การป้องกันเหตุรำคาญต่างๆ บ้านที่พักอาศัยจะต้องปราศจากเหตุรำคาญต่างๆ

2. ต้องการพื้นฐานทางจิตวิทยา (Fundamental Psychological Needs) หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของบ้านที่พักอาศัยให้ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตหรือความสุขทางใจของผู้อยู่อาศัยได้ด้วยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างกันออกไป สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาอย่างน้อยควรประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
  • ความเป็นส่วนตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลซึ่งมีไม่เหมือนกัน
  • ความสง่างาม ช่วยให้ผู้อยู่เกิดความภาคภูมิใจ และเกิดความสุขทางใจได้
  • ชีวิตปกติของครอบครัวและชุมชน
  • ความสะอาด ที่พักอาศัยจำเป็นต้องรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย
อยู่เสมอ เพราะจะช่วยส่งเสริมให้เกิดสุขภาพกายสุขภาพจิตแก่ผู้อยู่อาศัยเป็นอย่างดี
  • ความสะดวกสบาย ผู้อยู่อาศัยย่อมต้องการที่จะให้ที่พักอาศัยของตนมีสิ่งอำนวยความ
สะดวกสบาย มีสาธารณูปโภค

3. การป้องกันหลีกเลี่ยงโรคติดต่อ (Provision Against Communicable Diseases) บ้านที่พักอาศัยจำเป็นจะต้องจัดสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างน้อยควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้ น้ำดื่มน้ำใช้ ( ควรจัดให้มีทั้งคุณภาพและปริมาณ คือ มีความสะอาดได้มาตรฐานของน้ำดื่มมีปริมาณเพียงพอแก่การใช้ภายในครอบครัว) การกำจัดสิ่งขับถ่ายของเสีย (มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะใช้ประจำครัวเรือนให้เพียงพอกับจำนวนสมาชิก เช่น ครอบครัว 5-6 คน ต้องมีส้วมอย่างน้อย 1 ที่) การกำจัดขยะ (ขยะที่เกิดขึ้นจากครัวเรือนต้องได้รับการเก็บรวบรวมไว้ในถังขยะที่ถูกหลักสุขาภิบาล และให้พ้นจากการรบกวนของแมลง สัตว์เลี้ยง รวมทั้งไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ) การเก็บรักษาอาหาร (ที่พักอาศัยต้องมีการจัดเก็บอาหาร ภาชนะ บรรจุอาหารไว้ในที่ปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อนหรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกต่างๆ ) ห้องนอนควรมีพื้นที่เพียงพอ

4. การป้องกันอุบัติเหตุ (Provision Against Accidents) อุบัติเหตุเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในบ้าน ซึ่งสิ่งที่ควรพิจารณาจัดทำคือ
  • ทำเล ที่ตั้ง
  • วัสดุและการก่อสร้าง
  • การป้องกันอัคคีภัย
  • ความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน 
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการอยู่อาศัย
     สิ่งที่สำคัญที่แสดงถึงความแตกต่างของการอยู่อาศัย ซึ่งมีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของสมาชิกในครอบคัวได้แก่ พื้นฐานทางสังคมและฐานะทางเศรษฐกิจ ประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมเดิม พฤติกรรมส่วนบุคคล







การจัดการวางแผนการทำงาน

การจัดการวางแผนการทำงาน


                  
              ขั้นตอนและประโยชน์ของการวางแผนทำงานบ้านการวางแผนทำงานบ้าน คือ  การกำหนดแนวปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า  ว่าจะทำอย่างไร  ทำเมื่อไร  ทำโดยวิธีใด  ใครเป็นผู้ทำและกำหนดงานเสร็จเมื่อไรขั้นตอนการวางแผนทำงานบ้าน               
                ก่อนทำงานบ้านควรวางแผนเป็นลำดับขั้นจะช่วยให้ทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เรียบร้อยและมีคุณภาพ  ซึ่งมีขั้นตอนในการวางแผนทำงานบ้าน  ดังนี้   
1.            สำรวจและวิเคราะห์งาน  การเตรียมการก่อนทำงานบ้านรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานบ้านทั้งหมดและจัดแบ่งประเภทของงานบ้านดังนี้
             - งานบ้านที่ต้องทำทุกวัน เช่น การกวาดและถูบ้าน การรดน้ำต้นไม้ การทำอาหาร
             - งานบ้านที่ต้องทำทุกสัปดาห์ เช่น การทำความสะอาดปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน เป็นต้น
             - งานบ้านที่นานๆครั้งจึงจะทำ เช่น การซ่อมแซมบ้าน การทาสีบ้านใหม่ เป็นต้น
ศึกษาขั้นตอนและวิธีการทำงานแต่ละประเภท
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกเพื่อจัดแบ่งหน้าที่และปริมาณงานให้เหมาะสมกับเพศวัย และความสามารถของแต่ละบุคคล
เตรียมวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงานให้เหมาะสมกับประเภทของงาน โดยเลือกใช้ที่ช่วยให้ทำงานได้ง่าย ประหยัดเวลา มีความปลอดภัยในการทำงาน และช่วยอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การเลือกใช้น้ำเปล่าและกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ใช้แล้วแทนน้ำยาเช็ดกระจกที่มีราคาแพง เป็นต้น
2. การวางแผน    การกำหนดเป้าหมายของการทำงานว่าต้องการทำงานอะไร มีปริมาณงานมากน้อยเพียงใด จำนวนบุคคล หน้าที่ทำงาน และระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน โดยสามารถทำเป็นตารางดังนี้ตัวอย่าง ตารางกำหนดเป้าหมายในการทำงาน
3. ลงมือปฏิบัติตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
4. ทำความสะอาดและเก็บเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานให้เรียนร้อย
5. ประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อนำไปปรับปรุงในการทำงานครั้งต่อไป 

การวางแผนการใช้ทรัพยากรภายในบ้าน

      การวางแผนการใช้ทรัพยากรภายในบ้าน
  



     การจัดการด้านการวางแผนการทำงานและการใช้ทรัพยากรในบ้าน เป็นการบริหารจัดการเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการจัดการเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของครอบครัวที่มีอยู่ให้คุ่มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัวเป็นการแบ่งเบาภาระงานต่างๆตามกำลังความสามารถ ความถนัดและความพอใจของสมาชิก เช่น การประกอบอาหาร การทำความสะอาด การตัดเย็บเสื้อผ้า การทำสวนครัว ทำบัญชีรายรับรายจ่ายในบ้านซึ่งในการจัดการนั้นจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากร ดังนี้
       1. ทรัพยากรส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่มีประจำตัวบุคคล เช่น เวลา แรงงาน ความสนใจ ความสามารถ สติปัญญา เป็นต้น
       2. ทรัพยากรประเภทวัสดุและบริการ เป็นสิ่งของหรือบริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัว เช่น เงินรายได้ครอบครัว สิ่งของเครื่องใช้ อาหาร งานบริการจากภาครัฐและเอกชน เช่นโรงเรียน การไฟฟ้า ธนาคาร การประปา เป็นต้น

       3. ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว เช่น ดินฟ้า อากาศ ฤดูกาล ต้นไม้ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น 


ประโยชน์ของการวางแผนการทำงาน

ประโยชน์ของการวางแผนการทำงาน




              การวางแผนก็เปรียบเสมือนสมองของคน ซึ่งถ้ามองในลักษณะนี้แล้ว การวางแผนก็มีความสำคัญไม่น้อยทีเดียว การวางแผน คือ อย่างน้อยต้องมีความคิดการเตรียมการว่าจะจัดการศึกษาเพื่ออะไร เพื่อใคร อย่างไร การวางแผนมีประโยชน์ในหลายเรื่องด้วยกัน เช่น
         1.การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมในปัจจุบันแล้วกำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทางที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญพร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา
          2.การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด
         3.ช่วยให้ผู้ที่รับผิดชอบในงานทราบล่วงหน้าว่าจะทำงานใด เมื่อใด
         4.สามารถทำงานที่รับผิดชอบได้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง
         5.ฝึกนิสัยให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ มีเหตุผลและรอบคอบ
         6.ก่อให้เกิดการประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน
         7.ฝึกให้เกิดนิสัยในการวางแผนต่อไปจะทำได้รวดเร็วและผิดพลาดน้อย    

ปัจจัยสำหรับการวางแผนการใช้ทรัพยากร


ปัจจัยสำหรับการวางแผนการใช้ทรัพยากร


                 การวางแผนการใช้ทรัพยากร มีทั้งทรัพยากรด้านบุคคล  ทรัพยากรประเภทวัสดุและอุปกรณ์ และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้มีจำกัด ปัจจัยสำหรับการวางแผนการใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1.เวลา  ทุกคนมีเวลาเท่ากัน คือ มีเวลาเพียงวันละ 24 ชั่วโมง แต่ละคนจะใช้เวลาในการทำงานไม่เท่ากัน แม้จะเป็นงานชนิดเดียวกัน ผู้ที่จัดการกับเวลาได้ดีจึงจะใช้เวลาของแต่ละวันได้อย่างคุ้มค่า
2.แรงงาน เกี่ยวพันกับสุขภาพ ผู้มีสุขภาพดีย่อมได้เปรียบผู้ที่มีสุขภาพไม่ดีและการที่รู้จักจัดการเรื่องแรงงานจะช่วยให้เสียเวลาในการทำงานน้อยลง
3.ความรู้ สติปัญญา เป็นสิ่งที่ได้มาจากการศึกษา อาจจะได้มาจากโรงเรียน จากชุมชน ท้องถิ่น หรือแหล่งอื่นๆ ในการวางแผนการใช้ทรัพยากรที่เป็นตัวบุคคลจะต้องคำนึงถึงภูมิความรู้ ความถนัดของแต่ละบุคคล เพื่อจะได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ความสามารถ เป็นทรัพยากรบุคคลที่แต่ละคนมรไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน ดังนั้น จะต้องพิจารณาความสามารคของแต่ละบุคคลด้วย เพราะการทำงานตรงตามความสามารถจะทำให้ทำงานนั้นได้ดี
5.ทักษะ ในการทำงานบ้านต้องใช้ทักษะกระบวนการทำงาน กระบวนการแก้ปัญหาเมื่อเกิดอุปสรรคหรือข้อผิดพลาดในการทำงาน มีการฝึกฝนทักษะจนเกิดความชำนาญ มีทักษะการจัดการที่ดี เพื่อที่จะทำให้งานบ้านประสบความสำเร็จและเป็นตามแผนที่วางไว้
6.เงินรายได้ มีความสำคัญมากกว่าทรัพยากรอื่นๆ เพื่อเป็นสิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ในครอบครัวจะต้องมีการหารายได้มาเลี้ยงดูครอบครัวและบริหารวางแผนการใช้เงินเพื่อความมั่นคงของสมาชิกในครัวเรือน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการหาเงินรายได้ ได้แก่ ความรู้ สติปัญญา ความสามารถ เวลา แรงงาน และโอกาส